วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ต้นมะพร้าว

ต้นมะพร้าว




มะพร้าว

    เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม มะพร้าว เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล

ลักษณะทั่วไป

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าวซึ่งน้ำมะพร้าวเกิดจากเอนโดสเปิร์มของมะพร้าวซึ่งจะมีเอนโดสเปิร์มทั้งของแข็งและของเหลว คือ เอนโดสเปิร์มของแข็งจะเป็นเนื้อมะพร้าว และเอนโดสเปิร์มทั้งของเหลวจะเป็นน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ชั้นเอนโดสเปิร์ม (เนื้อมะพร้าว) ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อนนุ่ม ภายในมีน้ำมะพร้าว ซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและเนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่ ซึ่งสังเกตได้จากการที่เปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ชั้นเอนโดสเปิร์มก็จะหนาและแข็งขึ้น จนในที่สุดมะพร้าวก็หล่นลงจากต้น


มะพร้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera L. อยู่ในตระกูล Palmae มีระบบรากเป็นรากฝอยมีขนาดเท่าๆ กัน แผ่กระจายออกรอบต้น
ลำต้น มีลำต้นเดียว ไม่แตกแขนง มีรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบตลอดลำต้น สามารถคำนวณอายุของต้นมะพร้าวได้จากรอยแผลนี้ คือ ในปีหนึ่งมะพร้าวจะสร้างใบประมาณ 12- 14 ใบ ดังนั้นใน 1 ปี จะมีรอยแผลที่ลำต้น 12 – 14 รอยแผล
ใบ เป็นใบประกอบ ออกอยู่ตามส่วนของลำต้น ประกอบด้วยก้านทาง ( rechis ) มีขนาดใหญ่และยาว และมีใบย่อย ( leaflet ) บนก้านทางประมาณ 200 – 250 ใบ
ดอก ออกเป็นช่อชนิดพานิเคิล มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย อยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีกลีบดอก 6 กลีบ สีครีมหรือสีเหลืองนวล ไม่มีก้านดอกย่อยดอกตัวเมียจะมีกลีบดอกหนาและแข็งกว่ากลีบดอกตัวผู้
ผล มะพร้าวเป็นชนิดไฟบรัสดรุป ( fibrous drupe ) เรียกว่า นัท ( nut ) มีเปลือก 3 ชั้นคือ
1. เปลือกชั้นนอก ( exocarp ) เป็นเส้นใยที่เหนียวและแข็ง เมื่อแก่อาจมีสีเขียว แดง เหลืองหรือน้ำตาล
2. เปลือกชั้นกลาง ( mesocarp ) มีลักษณะเป็นเส้นใย มีความหนาพอประมาณ
3. เปลือกชั้นใน ( endocarp ) มีลักษณะแข็งหรือที่เรียกกันว่า กะลา ( shell )
เมล็ด ( seed of kernel ) คือ เนื้อมะพร้าว ภายในเมล็ดเป็นช่อกลวงขณะผลอ่อนจะมีน้ำอยู่เต็ม ผลแก่น้ำมะพร้าวจะแห้งไปบางส่วน
พันธุ์ มะพร้าวเป็นพืชผสมข้ามพันธุ์ แต่ละต้นจึงไม่เป็นพันธุ์แท้ อาศัยหลักทางการผสมพันธุ์ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ อาจแบ่งมะพร้าวออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทต้นเตี้ยและประเภทต้นสูง
ประเภทต้นเตี้ย มะพร้าวประเภทนี้ มีการผสมตัวเองค่อนข้างสูง จึงมักให้ผลดกและไม่ค่อยกลายพันธุ์ ส่วนใหญ่นิยมปลูกไว้เพื่อรับประทานผลอ่อน เพราะในขณะที่ผลยังไม่แก่ อายุประมาณ 4 เดือน เนื้อมีลักษณะอ่อนนุ่ม และน้ำมีรสหวาน บางพันธุ์น้ำมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีกลิ่นหอม
ลักษณะทั่วไปของประเภทต้นเตี้ย ลำต้นเล็ก โคนต้นไม่มีสะโพก ต้นเตี้ย โตเต็มที่สูงประมาณ 12 เมตร ทางใบสั้น ถ้ามีการดูแลปานกลางจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุ 3-4 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 35-40 ปี มะพร้าวประเภทต้นเตี้ยมีหลายพันธุ์ แต่ละพันธุ์มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เปลือกสีเขียวเหลือง นวล (สีงาช้าง) น้ำตาลแดง หรือสีส้ม น้ำมีรสหวาน มีกลิ่นหอม มะพร้าวต้นเตี้ยทุกพันธุ์จะมีผลขนาดเล็ก เมื่อผลแก่มีเนื้อบางและน้อย ซึ่งได้แก่พันธุ์ นกคุ่ม หมูสีเขียว หมู่สีเหลือง หรือนาฬิกา มะพร้าวเตี้ย น้ำหอม และมะพร้าวไฟ แต่ปัจจุบันมะพร้าวน้ำหอมกำลังเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้ในการบริโภคสดและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ตลอดจนใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
ประเภทต้นสูง ตามปกติมะพร้าวต้นสูงจะผสมข้ามพันธุ์ คือ ในแต่ละช่อดอก (จั่น) หนึ่ง ๆ ดอกตัวผู้จะค่อย ๆ ทยอยบาน และร่วงหล่นไปหมดก่อนที่ดอกตัวเมียในจั่นนั้นจะเริ่มบาน จึงไม่มีโอกาสผสมตัวเอง มะพร้าวประเภทนี้เป็นมะพร้าวเศรษฐกิจส่วนใหญ่ปลูกเป็นสวนอาชีพ เพื่อใช้เนื้อจากผลแก่ไปประกอบอาหาร หรือเพื่อทำมะพร้าวแห้งใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันพืช
ลักษณะทั่วไปของประเภทต้นสูง ลำต้นใหญ่ โคนต้นมีสะโพกใหญ่ ต้นสูง โตเต็มที่สูงประมาณ 18 เมตร ทางใบใหญ่และยาว ถ้ามีการดูแลปานกลางจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุ 5-6 ปี อายุยืนให้ผลผลิตนานประมาณ 80 ปี มะพร้าวต้นสูงมีผลโตเนื้อหนาปริมาณเนื้อมาก มีลักษณะภายนอกหลายอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ผลขนาดกลาง ขนาดใหญ่ รูปผลกลม ผลรี บางพันธุ์เปลือกมีลักษณะพิเศษ คือ ในขณะที่ผลยังไม่แก่ เปลือกตอนส่วนหัวจะมีรสหวานใช้รับประทานได้ จึงมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน ได้แก่พันธุ์กะโหลก มะพร้าวใหญ่ มะพร้าวกลาง ปากจก ทะลายร้อย เปลือกหวานและมะแพร้ว มะพร้าวพันธุ์ลูกผสมแม้ว่ามะพร้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรปลูกกันมาแต่ดั้งเดิม จะมีลักษณะดีหลายอย่าง เช่น มีขนาดผลค่อนข้างโต และทนทานต่อสภาพอากาศแล้งได้ดี แต่ในวงการอุตสาหกรรมมะพร้าวในปัจจุบันได้พัฒนาทางด้านคุณภาพมะพร้าวมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณเปอร์เซ็นต์น้ำมัน ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตรมีหน้าที่รับผิดชอบด้านวิจัยและพัฒนามะพร้าวได้ผลิตมะพร้าวพันธุ์ลูกผสม ซึ่งได้ผ่านการรับรองพันธุ์ออกมาแล้ว 2 พันธุ์ ดังนี้
พันธุ์สวีลูกผสม 1 (Sawi Hybrid No.1) เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างมะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x เวสท์อัฟริกันต้นสูง (MYD x WAT) ลักษณะเด่นของมะพร้าวพันธุ์นี้คือมีอายุการตกผลเร็ว สามารถเก็บผลผลิตได้ในปีที่ 5 ผลผลิตเฉลี่ย 2,781 ผลต่อไร่ หรือคิดเป็นน้ำหนักแห้ง 566 กก.ต่อไร่ จากจำนวนมะพร้าว 22 ต้นต่อไร่ เนื้อมะพร้าวแห้งมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงถึง 64 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นมะพร้าวที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าวมาก
พันธุ์ชุมพรลูกผสม 60-1 (Chumphon Hybrid 60-1) เป็นมะพร้าวลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง x ไทยต้นสูง สามารถเก็บผลผลิตได้ในปีที่ 5 หลังจากปลูก ขนาดผลมีตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลผลิตเฉลี่ย 2,257 ผลต่อไร่ หรือคิดเป็นน้ำหนักมะพร้าวแห้งสูงถึง 628 กก.ต่อไร่ เนื้อมะพร้าวแห้งมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง 63 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากขนาดผลของมะพร้าวพันธุ์นี้ค่อนข้างโตกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 จึงสามารถจำหน่ายได้ทั้งผลสดและในรูปมะพร้าวแห้งส่งโรงงานสกัดน้ำมัน มะพร้าวลูกผสมทั้ง 2 พันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองเกือบ 2 เท่า กล่าวคือ พันธุ์ไทยให้ผลผลิต 1,084 ผลต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตเนื้อมะพร้าวแห้ง 374 กก.ต่อไร่ และมีปริมาณเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 59-60 เปอร์เซ็นต์
อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7

ต้นประดู่

ต้นประดู่

ประดู่


ประดู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[2],[3]
สมุนไพรประดู่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดู่บ้าน (ภาคเหนือ), ประดู่บ้าน ประดู่ลาย ประดู่กิ่งอ่อน อังสนา (ภาคกลาง), สะโน (มาเลย์-นราธิวาส), ดู่, ประดู่ป่า, ประดู่ไทย เป็นต้น[1],[2],[3]

ลักษณะของต้นประดู่

  • ต้นประดู่ เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย และอยู่ในแถบอันดามัน มัทราช เบงกอล[1] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย[2] ต้นประดู่จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 20-25 เมตร หรืออาจสูงกว่า จะผลัดใบก่อนการออกดอก แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มกว้าง และปลายกิ่งห้อยลง เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลเทา แตกหยาบ ๆ เป็นร่องลึก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ต้องการน้ำปานกลาง เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ สามารถปลูกได้ทั่วไป[3]
ต้นประดู่
ต้นประดู่บ้าน

  • ใบประดู่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกรวมกันเป็นช่อ ๆ ใบออกเรียงสลับ แต่ละช่อจะมีใบย่อยประมาณ 7-13 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปมนรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-13 เซนติเมตร แผ่นใบหนาเป็นสีเขียว ผิวใบมีขนสั้น ๆ ปกคลุมด้านท้องใบมากกว่าด้านหลังใบ ก้านใบอ่อนมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย เส้นแขนงใบถี่โค้งไปตามรูปใบ เป็นระเบียบ โคนก้านใบมีหูใบ 2 อัน ลักษณะเป็นเส้นยาว[3]
ใบประดู่
  • ดอกประดู่ ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ โดยจะออกบริเวณซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง โคนก้านมีใบประดับ 1-2 อัน ลักษณะเป็นรูปรี กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ติดกันเป็นถ้วยสีเขียว ปลายแยกเป็นแฉก 2 แฉก แบ่งเป็นอันบน 2 กลีบติดกัน และอันล่าง 3 กลีบติดกัน ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองแกมแสด ลักษณะของกลีบเป็นรูปผีเสื้อ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็น 2-3 กลุ่ม ส่วนเกสรเพศเมียมี 1 อัน ดอกมีกลิ่นหอมแรง จะบานและร่วงพร้อมกันทั้งต้น โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน[2],[3]
ประดู่บ้าน
ดอกประดู่

  • ผลประดู่ ผลเป็นผลแห้งแบบ samaroid ลักษณะของผลเป็นรูปกลมหรือรีแบน ที่ขอบมีปีกบางคล้ายกับใบโดยรอบคล้าย ๆ จานบิน แผ่นปีกบิดและเป็นคลื่นเล็กน้อย นูนตรงกลางลาดไปยังปีก ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-7 เซนติเมตร ส่วนบริเวณปีกยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ที่ผิวมีขนละเอียด ตรงกลางนูนป่องเป็นที่อยู่ของเมล็ด โดยภายในจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด เมล็ดมีความนูนประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียวแกมเหลือง เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ผิวสัมผัสขรุขระเมื่อผลแก่ ส่วนเมล็ดมีลักษณะคล้ายกับเมล็ดถั่วแดง ผิวเรียบสีน้ำตาล ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร[3],[4]
ผลประดู่
ผลประดู่บ้าน
เมล็ดประดู่
หมายเหตุ : ต้นประดู่ชนิดนี้ (ต้นประดู่บ้าน) เป็นต้นประดู่ที่พบเห็นได้ทั่วไป และเป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับต้นประดู่ดั้งเดิมของไทยหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “ต้นประดู่ป่า” (Pterocarpus macrocarpus Kurz.)

สรรพคุณของประดู่

  1. เปลือกต้นมีรสฝาดจัด มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (เปลือกต้น)[2]
  2. แก่นเนื้อไม้ประดู่ มีรสขมฝาดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงธาตุในร่างกาย (แก่น)[2],[4]
  3. แก่นเนื้อไม้ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ แก้พิษไข้ (แก่น)[1],[2],[4] ส่วนรากใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษไข้ (ราก)[4]
  4. แก่นเนื้อไม้ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้เสมหะ (แก่น)[1],[2],[4]
  5. ใบนำมาตากแห้งใช้ชงกับน้ำร้อนเป็นชาใบประดู่ นำมาดื่มจะช่วยบรรเทาอาการระคายคอได้ (ใบ)[4]
  1. ผลมีรสฝาดสมาน มีสรรพคุณเป็นยาแก้อาเจียน (ผล)[2]
  2. เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ปากเปื่อย ปากแตก (เปลือกต้น)[4] ส่วนยางก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคปากเปื่อยได้เช่นกัน (ยาง)[4]
  3. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องร่วง (ผล)[2]
  4. เปลือกต้นและยางมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการท้องเสีย (เปลือกต้น, ยาง)[2],[4]
  5. ใช้เป็นยาแก้โรคบิด (เปลือกต้น)[4]
  6. แก่นมีสรรพคุณเป็นยาขับยาเสมหะ (แก่น)[2]
  7. ใบอ่อนนำมาตำให้ละเอียด ใช้เป็นยาพอกแผล พอกฝี จะช่วยทำให้ฝีสุกหรือแห้งเร็ว (ใบอ่อน)[1],[2],[4]
  8. ใบอ่อนใช้ตำพอกแก้ผดผื่นคัน (ใบอ่อน)[1],[2],[4] ส่วนแก่นก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ผื่นคันเช่นกัน (แก่น)[2]
  9. ยางไม้ประดู่มีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “Gum Kino” สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสียได้ (ยางไม้)[1]
  10. แก่นเนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้โรคคุดทะราด ด้วยการนำแก่นไม้มาต้มกับน้ำกิน (แก่น)[1],[2]
  11. เปลือกต้นมีรสฝาด มีสรรพคุณเป็นยาสมานบาดแผล (เปลือกต้น)[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของประดู่

  • เมื่อนำส่วนของเปลือก ราก และใบมาสกัดด้วยตัวทำละลาย พบว่าสารที่พบได้ในทุกส่วนของประดู่ คือ Flavonoid Tannin และ Saponin ส่วนสารสำคัญที่ได้จากการค้นคว้าข้อมูลอื่น พบว่ามีสาร Angiolensin Homopterocarpin, Formonoetin, Isoliquirtigenin, Narrin , Pterostilben, Pterocarpin, Pterofuran, Pterocarpon, Prunetin, Santalin, P-hydroxyhydratropic acid, β-eudesmol ส่วนใบพบว่ามีคลอโรฟิลล์ 3 ชนิด คือ Chlorophyll a Chlorophyll b และ Xanthophyll[4]
  • ประดู่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย แก้อาการปวด ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ยับยั้งการแบ่งเซลล์ ยับยั้งเอนไซม์ Ornithine decarboxylase และยับยั้ง Plasmin ฤทธิ์คล้ายเลคติน ทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกัน[4]
  • จากการทดสอบความเป็นพิษ โดยใช้สารสกัดด้วยเอทานอลจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นประดู่ 50% เมื่อนำมาฉีดเข้าท้องของหนูถีบจักรทดลอง พบว่าขนาดที่ทำให้หนูตายคือขนาดมากกว่า 1 กรัม[4]

ประโยชน์ของต้นประดู่

  1. ใบอ่อนและดอกประดู่สามารถนำมาลวกรับประทานเป็นอาหารได้ และยังสามารถนำมาชุบแป้งทอดรับประทานกับน้ำจิ้มเป็นอาหารว่างได้อีกด้วย[2],[4]
  2. ไม้ประดู่ เป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ มีคุณภาพดี เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อละเอียดปานกลาง ปลวกไม่ทำลาย สีสวย มีลวดลายสวยงาม ตกแต่งขัดเงาได้ดี นิยมนำมาใช้สร้างบ้านเรือน ทำฝาบ้าน พื้นบ้าน ทำเสา ทำคาน ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือนต่าง ๆ หรือนำมาใช้ทำเกวียน ทำเรือคานและเรือทั่ว ๆ ไป รวมทั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเรือด้วย เพราะไม้ประดู่มีคุณสมบัติทนน้ำเค็ม ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ด้ามมีด จานรองแก้ว ทัพพี ฯลฯ เครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ระนาด เป็นต้น นอกจากนี้ประดู่บางต้นยังเกิดปุ่มตามลำต้น หรือที่เรียกว่า “ปุ่มประดู่” จึงทำให้ได้เนื้อไม้ที่มีคุณภาพสูงและงดงาม แต่จะมีราคาแพงมากและหาได้ยาก นิยมนำมาใช้ทำเครื่องเรือนและเครื่องมือเครื่องใช้ได้อย่างดีเยี่ยม[2],[4]
  3. เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง เปลือกและแก่นประดู่ยังสามารถนำมาใช้ย้อมสีผ้าได้ดี โดยเปลือกจะให้สีน้ำตาล ส่วนแก่นจะให้สีแดงคล้ำ[2]
  4. ใบมีรสฝาด สามารถนำมาชงกับน้ำใช้สระผมได้[2]
  5. คนไทยนิยมนำต้นประดู่มาปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารหรือสถานที่สาธารณะ เช่น ตามสวนหรือทางเดินเท้า ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาและให้ความสวยงาม อีกทั้งยังช่วยกำจัดอากาศเสีย ช่วยกรองฝุ่นละออง และกันลมกันเสียงได้ดีอีกด้วย ดังจะเห็นได้ในเมืองใหญ่ ๆ เช่น กรุงเทพฯ ที่จะใช้ประโยชน์จากต้นประดู่มากเป็นพิเศษ[2]
  6. ในด้านเชิงอนุรักษ์ ต้นประดู่เป็นไม้เรือนยอดกลมโต มีความแข็งแรง สามารถช่วยป้องกันลมและคลุมดินให้ร่มเย็นชุ่มชื้นได้ และยังช่วยรองรับน้ำฝนช่วยลดแรงปะทะหน้าดิน ประกอบกับมีระบบรากหยั่งลึกและแผ่กว้างที่ช่วยยึดหน้าดินไว้ไม่ให้พังทลายได้ง่าย และรากที่มีปมขนาดใหญ่ยังช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศมาเก็บไว้ในรูปของไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์อีกด้วย ส่วนใบที่หนาแน่น เมื่อร่วงหล่นก็จะเกิดการผุพังกลายเป็นธาตุอาหารอินทรียวัตถุให้แก่ดินได้เป็นอย่างดี
  7. ในด้านข้อความเชื่อ หากบ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้เป็นไม้ประจำบ้าน เชื่อว่าจะช่วยทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่ เพราะประดู่หมายถึงความพร้อม ความร่วมมือร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ให้ปลูกต้นประดู่ไว้ทางทิศตะวันตกและให้ปลูกในวันเสาร์ เพราะคนโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณให้ปลูกกันในวันเสาร์ และถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นไปอีก ผู้ปลูกควรจะเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือและเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้น
  8. ในด้านของการเป็นสัญลักษณ์ ดอกประดู่เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพเรือไทย เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดอุตรดิตถ์ และเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศพม่า ส่วนต้นประดู่เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต และโรงเรียนอีกหลายแห่งในประเทศไทย (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย) 
สถานที่พบ : หลังอาคาร3
ที่มา:https://medthai.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99/ 

ต้นไผ่

ต้นไผ่

ต้นไผ่

      

ชื่อวิทยาศาสตร์
Bambusa sp
ชื่อสามัญ
Bamboo
ชื่อวงศ์
GRAMINEAE/POACEAE
ลักษณะวิสัยไม้แตกกอ
ลักษณะทั่วไป

 เป็นพืชมีเนื้อไม้แข็งความสูงแล้วแต่ชนิด มีเหง้าอยู่ใต้ดิน
ลำต้นตรง มีข้อ
และปล้องชัดเจน ปล้องภายในกลวง ขนาดกว้างยาวแล้วแต่ละชนิด
ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ
รูปใบหอก ปลายเรียวแหลม โคนมน ขอบใบสากคาย ดอก
ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง
กระจายพันธุ์เขตร้อน ที่อยู่ในเขตอบอุ่นมีน้อย
ประโยชน์
หน่อ อ่อนเรียกหน่อไม้ของไผ่บางชนิด รับประทานได้ เนื้อไม้
ทำเครื่องเรือน เครื่องจักรสาน
ความสำคัญ  : ไผ่เป็นต้นไม้ประจำปีมะแม  การที่คนไทยนิยมปลูกต้นไม้นั้น
  มีความเชื่อมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วว่า  หากปลูกต้นไผ่เอาไว้ภายในบริเวณบ้าน
ก็จะช่วยให้สมาชิกทุกคนภายในบ้านนั้นไม่คดโรง  หรือเอารัดเอาเปรียบใคร  ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรก็ตั้งใจทำด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  และมีคุณธรรม
ซึ่งความเชื่อเหล่านั้นก็มีพื้นฐานจากลักษณะของต้นไผ่นั่นเอง  ต้นไผ่นั้นเจริญ
เติบโตอย่างรวดเร็ว แตกกิ่งก้านสาขาที่เหยียดตรง  และเรียบเนียน
  ส่วนด้านในของปล้องไผ่แต่ละปล้องก็จะมีเนื้อไม้สีขาวบริสุทธิ์
ชาวจีนเชื่อกันว่า ไผ่เสริมมงคลในบ้าน  เป็นคนมุ่งมั้นตั้งใจจริง
มีปัญญาเลิศ  มีเหตุผล  ซื่อตรง  และกตัญญูรู้คุณ


อ้างอิง https://sites.google.com/site/swnphvkssastr234/tn-phi

ต้นมะค่า

ต้นมะค่า

มะค่า




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง






มะค่า เป็นชื่อของไม้เนื้อแข็งยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่สามารถปลูกเป็นไม้ทางเศรษฐกิจได้ เป็นต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสุโขทัย ผลัดใบช่วงสั้น ๆ สูงได้ถึง 30 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง เปลือกต้นสีเทาอ่อน หรือสีชมพูอมน้ำตาล ผิวต้นขรุขระ กิ่งอ่อนมีขนประปราย ต้นแก่มักมีปุ่มปม เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามสีน้ำตาลอมเหลือง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายใบคู่ ออกเรียงสลับ ใบกว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 5-9 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบยาว 18-30 ซม. ก้านใบยาวประมาณ 2 ซม. ก้านใบย่อยยาว 0.3-0.5 ซม. ใบย่อยมี 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลมมีติ่งสั้นๆ โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา เรียบเกลี้ยง ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ยาว 5-15 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มสีเทา ใบประดับรูปไข่ ยาว 0.6-0.9 ซม. ใบประดับย่อยคล้ายใบประดับ ติดเหนือจุดกึ่งกลางก้านดอกเล็กน้อย ติดทน ก้านดอกยาว 0.7-1 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 1 เซนติเมตร ทุกส่วนมีขนคลุมบางๆ ดอกคล้ายดอกถั่ว กลีบดอกสีชมพู 1 กลีบ รูปร่างคล้ายช้อน แผ่เกือบกลม ยาว 7-9 มิลลิเมตร ส่วนฐานคอดเป็นก้าน มีก้านยาว 0.5-1.2 ซม. ปลายกลีบย่นเว้าตื้นๆ เกสรเพศผู้มี 10 อัน แยกกัน เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 7 อัน ก้านเกสรยาวประมาณ 3 ซม. มีขนสั้นนุ่มที่โคน อับเรณูยาว 0.3-0.4 ซม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมี 3 อัน รูปเส้นด้ายสั้นๆ เกสรเพศเมียมีขนที่รังไข่ รังไข่รูปขอบขนานแคบ ยาวประมาณ 0.7 ซม. ก้านรังไข่ยาวประมาณ 0.7 ซม. ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 2-2.5 ซม. เกลี้ยง ขยายเล็กน้อยด้านปลาย ยอดเกสรขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงสีเขียวมี 4 กลีบ สีเขียวสด รูปขอบขนาน แต่ละกลีบเรียงซ้อนทับกันแบบตรงข้าม ยาว 1-1.2 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ขอบกลีบบาง ฐานรองดอกยาว 0.8-1 ซม. มีขนสั้นนุ่มสีเทา ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 7-9 เซนติเมตร ยาว 12-20 เซนติเมตร หนา 0.6-1 เซนติเมตร ผิวเปลือกเรียบไม่มีหนาม เปลือกแข็งหนาเป็นเนื้อไม้ ปลายเป็นจะงอยสั้นๆ ฝักแก่สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ พอแห้งแตกออกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดแข็ง มี 2-4 เมล็ด รูปรี ยาว 2.5-3 ซม. สีดำ ผิวมัน มีเนื้อหุ้มที่โคนเมล็ดสีเหลืองสด หุ้มเป็นรูปถ้วย ยาวประมาณ 1.5 ซม. พบตามป่าดิบแล้ง แนวเชื่อมต่อระหว่างป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ตามริมลำธารในป่าเบญจพรรณชื้น ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ติดผลราวเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม จัดเป็นไม้เด่น 1 ใน 5 ที่พบในป่าเบญจพรรณ

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%87

ต้นมะขาม

ต้นมะขาม

ต้นมะขาม

   







     มะขาม เป็น ไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กกลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาลเนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมันและมีสีน้ำตาล

ชื่อสามัญ :             Tamarind

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tamarindus indica Linn.

วงศ์ :                      CAESALPINIACEAE
ชื่ออื่น ๆ :           ส่า มอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หมากแกง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), มะขาม, มะขามไทย (ภาคกลาง), ตะลูบ(นครศรีธรรมราช), อำเปียล (สุรินทร์), มะขามกะดาน, มะขามขี้แมว
ลักษณะทั่วไป :
ต้น :     เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดของต้น และแข็งแรงมาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ

ใบ :     เป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 10-18 คู่ ลักษณะของใบย่อย เป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน มีสีเขียวแก่

ดอก :   ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบเป็นสีเหลือง และมีจุดประสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว

ผล :     เมื่อดอกร่วงแล้วก็จะติดผล ซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาว ซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมวและอีกชนิดหนึ่งฝักใหญ่แบน และโค้ง มีรสเปรี้ยว เรียกว่ามะขามกะดานเปลือกนอกเปราะเป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆ เป็นสีเหลืองอ่อน และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัด ซึ่งจะหุ้มเมล็ดอยู่            ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยง เป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม
การขยายพันธุ์ :
เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือการตอนกิ่ง

ส่วนที่ใช้ :
เนื้อไม้ ใบแก่ ใบอ่อนและดอก เนื้อในผล เมล็ดแก่
สรรพคุณ :
เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเขียง ที่มีคุณภาพดีมาก เพราะเป็นไม้ทีเหนียวทนใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิดขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มผสมกับหัวหอมโกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด แก้หวัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบและใช้อบไอน้ำได้เป็นต้น ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เนื้อในผล (มะขามเปียก) ใช้ผลแก่ประมาณ 10-20 ฝักนำมาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ำตามลงไป หรืออาจใช้ทำเป็นน้ำมะขามคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ำ หรือใช้เนื้อมะขามผสมกับข่า และเกลือพอประมาณรับประทานเป็นยาขับเลือดขับลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง หรืออาจใช้ผสมกับปูนแดง แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนหรือฝี เมล็ดแก่ นำมาคั่วให้เกรียมแล้วกระเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30 เม็ด นำมาแช่น้ำเกลือจนอ่อนใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิิไส้เดือนในท้องเด็กได้ หรือใช้เปลือกนอกที่กระเทาะออก ซึ่งจะมีรสฝาดใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี
อื่น ๆ :
เมล็ดมะขาม ใช้เพาะอย่างถั่วงอกใช้นำมาทำเป็นแกงส้มกิน เป็นอาหารได้และในประเทศอินเดียนิยมใช้เมล็ดในนำมาป่นให้ละเอียดแล้วต้มกับ ผ้าเพื่อให้ผ้าแข็ง เหมือนกับลงแป้ง
คุณค่าทางโภชนาการ :
ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัดเรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย
ส่วนที่นำมาใช
- ฝักอ่อน ฝักแก่ ดอก
- เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก)
- เปลือก (สด - แห้ง)
- ใบอ่อน - แก่ 
สารทีมีคุณประโยชน
- ยอดอ่อนของมะขาม มีวิตามินเอและวิตามินซีสูง และยังมี …
- โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันกากใบ
- แคลเซียม และฟอสฟอรัส
- มะขามเปียกมีสารกรดอินทรีย์ เช่น กรดซกรด กรดทาทาริค กรดมาลิค
- มีสารพวกกัม (gum) และเพคติน (pectin)
วิธีทำยานวดผม
๑. นำมะขามเปียกมาจำนวนหนึ่ง (มากน้อยตามความต้องการ)
๒. ผสมกับน้ำสะอาด หรือจะเป็นน้ำอุ่นก็ได้ ้
๓. ใช้มือคั้นเนื้อมะขามเพื่อให้ละลายออกผสมกับน้ำ
๔. น้ำที่ได้จะออกลักษณะเป็นเมือก (อย่าให้เหลวมาก)
๕. นำน้ำยานั้นมานวดให้ทั่วศีรษะ (นวดหลังจากสระผมแล้ว)
๖. ใช้ผ้าโพกหรือถุงพลาสติกคลุม ทิ้งไว้ ๑๕ - ๓๐ นาที
ผลที่ได้รับคือ
- ช่วยฆ่าเหา ฆ่าเชื้อรา รักษารากผม
- ที่สำคัญในบางท่าน ที่ต้องการจะเปลี่ยนสีผมให้เป็นไปตามธรรมชาติ คุณจะได้สีผมที่ออกไปเป็นสีเม็ดมะขาม และสีโค้ก
วิธีทำน้ำยาอาบน้ำ
๑. นำใบมะขามมาจำนวนหนึ่ง (ยอด - อ่อนหรือแก่ก็ได้ แล้วแต่จะต้องการ)
๒. นำน้ำสะอาดใส่ในภาชนะ ปี๊บ หม้อ ฯลฯ
๓. นำขึ้นตั้งไฟ
๔. พอน้ำเริ่มเดือด ให้ใส่ใบมะขามที่เตรียมไว้ลงไป แล้วปิดฝา
๕. เคี่ยวอยู่ประมาณ ๓๐ นาที จากที่เดือดอยู่แล้ว
๖. จากนั้นลงจากเตา ปล่อยไว้ให้เย็น หรือจะใช้ผสมกับน้ำเย็น
๗. อาบน้ำยาดังกล่าว
๘. อาบอยู่ ๒ - ๓ ครั้งก็จะเห็นผล
ผลที่ได้รับคือ
- ช่วยให้ผดผื่นคันที่เป็นตามร่างกายหายไป
- ช่วยให้ผิวพรรณดี
- รักษาเชื้อราบนผิวหนังได้ ้
(ภาคอีสานมักจะใช้อาบให้กับแม่ลูกอ่อน หรือคนที่เป็นตุ่มคัน และเป็นกลากเกลื้อน)
สรรพคุณทางยา
- เป็นยาระบายอ่อน ๆ
- แก้ท้องผูก แก้ท้องเดิน
- ถ่ายพยาธิลำไส้ (ใช้เนื้อในจากเมล็ด)
- แก้ไอขับเสมหะ
- น้ำมะขามลดอุณหภูมิในร่างกายและแก้ไข้ได้



อ้างอิง https://sites.google.com/site/swnphvkssastro/tn

ต้นมะม่วง

ต้นมะม่วง

ต้นมะม่วง

มะม่วง ชื่อสามัญ Mango
มะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera indica L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Mangifera austroyunnanensis Hu) จัดอยู่ในวงศ์มะม่วง (ANACARDIACEAE)
มะม่วงจัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีต้นกำเนิดในประเทศอินเดีย และถือว่าเป็นผลไม้ประจำชาติของประเทศอินเดีย ในบ้านเรานั้นมะม่วงจัดเป็นผลไม้เศรษฐกิจซึ่งส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก
สำหรับพันธุ์มะม่วงนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์มาก โดยสายพันธุ์ที่แพร่หลายมากที่สุดเห็นจะเป็นพันธุ์เขียวเสวย แรด น้ำดอกไม้ อกร่อง ฟ้าลั่น โชคอนันต์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละสายพันธุ์นั้นก็จะมีรสชาติและลักษณะแตกต่างกันออกไป
ประโยชน์ของมะม่วงที่เราเห็นเป็นประจำก็คงจะไม่พ้นการนำมารับประทานเป็นผลไม้สดทั้งดิบและสุก หรือมีการไปทำเป็นอาหารว่างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มะม่วงกวน มะม่วงแก้ว มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงน้ำปลาหวาน ข้าวเหนียวมะม่วง พายมะม่วง และนำไปใช้ประกอบอาหาร เช่น ใส่น้ำพริก ยำ ส้มตำ ส่วนยอดอ่อนหรือผลอ่อนก็สามารถนำมาประกอบอาหารแทนผักได้ด้วย เป็นต้น
สำหรับข้าวเหนียวมะม่วงนั้นจะมีแคลอรีสูงเพราะประกอบไปด้วยน้ำตาล ไขมันจากกะทิเป็นหลัก ผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวมีสุขภาพดี การรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงจึงไม่น่าจะมีปัญหาต่อสุขภาพ แต่สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างเบาหวาน การรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงอาจจะไปทำให้น้ำตาลและไขมันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลที่ตามมาก็คือน้ำหนักตัวเพิ่ม ความดันสูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะห้ามรับประทานเสียทีเดียว แต่การรับประทานก็ควรรับประทานอย่างระวัง และพิจารณารับประทานให้พอดีกับสุขภาพก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด

สรนรพคุณของมะม่วง

  1. ประโยชน์ของมะม่วงรับประทานมะม่วงก็ช่วยทำให้สดชื่นมีชีวิตชีวาได้เหมือนกัน
  2. มะม่วงมีวิตามินซีสูง จึงช่วยต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี
  3. มะม่วงมีวิตามินเอ วิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส
  4. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เพราะอุดมไปด้วยวิตามินเอและเบตาแคโรทีน
  5. เป็นผลไม้ที่มีส่วนช่วยบำรุงร่างกาย
  6. ช่วยทำให้ผ่อนคลายและหลับสบายยิ่งขึ้น
  7. ช่วยทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ ปรับสมดุลภายใน
  8. ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง จึงช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  9. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ
  10. มีส่วนช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ รวมไปถึงต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือด โรคมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
  11. ช่วยเยียวยาและรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ใบมะม่วงประมาณ 15 ใบ นำมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาต้มในน้ำสะอาด 1 ถ้วย โดยใช้ไฟอ่อน ๆ นาน 1 ชั่วโมง ถ้าน้ำแห้งก็เติมเรื่อย ๆ เมื่อเสร็จแล้วนำมาตั้งทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน พอเช้าก็นำมากรองเอาแต่น้ำดื่มติดต่อกันประมาณ 3-4 วัน
  12. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ด้วยการรับประทานผลสดแก่
  13. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ด้วยการรับประทานผลสดแก่
  14. ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการรับประทานผลมะม่วง
  15. ช่วยแก้โรคคอตีบ ด้วยการใช้เปลือกของลำต้นมะม่วงมาต้มรับประทาน
  1. แก้ซางตานขโมยในเด็ก ด้วยการใช้ใบมะม่วงพอประมาณนำมาต้มรับประทาน
  2. ช่วยรักษาอาการเยื่อปากอักเสบ จมูกอักเสบ ด้วยการใช้เปลือกของลำต้นมะม่วงมาต้มรับประทาน
  3. เปลือกมะม่วงของผลดิบ นำมาคั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนและอาการปวดเมื่อยช่วงมีประจำเดือน
  4. เปลือกต้นมะม่วง นำมาต้มเอาน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน
  5. ไฟเบอร์จากมะม่วงเป็นตัวช่วยสำหรับการย่อยอาหารและเผาผลาญพลังงาน
  6. แก้อาการท้องอืด ด้วยการนำใบสดประมาณ 15 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เมล็ดของมะม่วงสุกมาตากแห้งแล้วต้มเอาน้ำดื่ม หรือจะบดให้เป็นผงก็ได้แล้วนำมารับประทาน
  7. ช่วยแก้อาการบิด ถ่ายเป็นเลือด ด้วยการรับประทานผลมะม่วง
  8. ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ด้วยการรับประทานผลมะม่วง
  9. แก้อาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง ด้วยการนำใบสดประมาณ 15 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม
  10. มีส่วนช่วยในการขับถ่าย มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ด้วยการรับประทานมะม่วงสุก
  11. ช่วยขับปัสสาวะ ด้วยการรับประทานผลมะม่วง
  12. ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้เมล็ดของมะม่วงสุกมาตากแห้งแล้วต้มเอาน้ำดื่ม หรือจะบดให้เป็นผงก็ได้แล้วนำมารับประทาน
  13. น้ำต้มกับใบมะม่วงสดประมาณ 15 กรัม ใช้ล้างบาดแผลภายนอกได้
  14. ใช้เป็นยาสมานแผลสด ด้วยการใช้ใบมะม่วงสดล้างให้สะอาดแล้วนำมาตำและพอกบริเวณที่เป็นแผล

ประโยชน์ของมะม่วง

  1. เนื้อไม้ของต้นมะม่วง สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้
  2. ใช้ประกอบอาหารหรือใช้รับประทานเป็นของว่างได้หลากหลาย เช่น ทำน้ำพริก ยำมะม่วง ต้มยำ เมี่ยงส้ม หรือการทำเป็นมะม่วงน้ำปลาหวาน คั้นเป็นน้ำผลไม้ก็ได้เช่นกัน
  3. นำมาแปรรูปเป็นมะม่วงกวน มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง เป็นต้น
  4. ใบแก่ของมะม่วงใช้เป็นสีย้อมผ้าให้เป็นสีเหลือง
  5. ทรีตเมนต์บำรุงผิวหน้าด้วยการใช้มะม่วงสุกมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ จากนั้นใช้ช้อนบดขยี้เนื้อมะม่วงให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก จะทำให้ผิวหน้าดูสะอาดเกลี้ยงเกลา รูขุมขนดูกระชับ ผิวเรียบเนียนไร้รอยเหี่ยวย่น


อ้างอิง https://medthai.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87/

ต้นหูกวาง

ต้นหูกวาง

ต้นหูกวาง

หูกวาง

หูกวาง ชื่อสามัญ Bengal almond, Indian almond, Olive-bark tree, Sea almond, Singapore almond, Tropical Almond, Umbrella Tree[1],[2]
หูกวาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia catappa L. จัดอยู่ในวงศ์สมอ (COMBRETACEAE)[1],[2]
สมุนไพรหูกวาง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), โคน (นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี), คัดมือ ตัดมือ (ตรัง), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส) เป็นต้น[1] (ต้นหูกวางเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดตราด)

ลักษณะของต้นหูกวาง

  • ต้นหูกวาง จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร บางครั้งอาจสูงได้ถึง 30-35 เมตร (แต่ไม่ค่อยพบต้นที่ใหญ่มากในประเทศไทย) มีเรือนยอดหนาแน่น แตกกิ่งก้านแผ่ออกในแนวราบเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ลำต้นเปลาตรง ต้นที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่จะเป็นพูพอนที่โคนต้น เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาเกือบเรียบ แตกเป็นร่องแบบตื้น ๆ ตามแนวนอนและแนวตั้ง และลอกออกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ทั่วไป กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล ส่วนเนื้อไม้เป็นสีแดง เป็นกลีบเล็กน้อย มีเสี้ยนไม้ละเอียดสามารถขัดชักเงาได้ดี ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด บางครั้งน้ำหรือค้างคาวก็ช่วยในกระจายพันธุ์ได้ด้วยเช่นกัน และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำได้ดีอย่างดินร่วนพอควรหรือปนทราย[1],[2] หูกวางเป็นพันธุ์ไม้ในป่าชายหาดที่พบขึ้นกระจายตามชายฝั่งทะเล พบปลูกทั่วตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงตอนเหนือของทวีปออสเตรเลียทางตอนเหนือ ต้นหูกวางเป็นพืชทิ้งใบ โดยทั่วไปแล้วจะทิ้งใบ 2 ครั้ง ในรอบ 1 ปี หรือในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือยกุมภาพันธ์ และอีกช่วงในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งก่อนขจะทิ้งใบ ใบหูกวางจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้มแดง ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำต้นหูกวางมาปลูกทั่วไปในพื้นที่เขตร้อนอย่างทวีปเอเชีย ส่วนในประเทศไทยมักพบขึ้นตามชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ (ตราดและชลบุรี) ภาคตะวันตกเฉียงใต้ (ประจวบคีรีขันธ์และกาญจนบุรี) และภาคใต้ (นราธิวาส ตรัง และสุราษฎร์ธานี)[2]
ต้นหูกวาง
  • ใบหูกวาง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับกันเป็นกระจุกหนาแน่นบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ (ปลายใบกว้างกว่าโคนใบ) โคนใบมนเว้าหรืแสอบแคบเป็นรูปลิ่ม และมีต่อมเล็ก ๆ หนึ่งคู่อยู่ที่โคนใบบริเวณท้องใบ ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่นหยักเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-25 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบมีขน เนื้อใบหนา ใบอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นเขียวเข้ม แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงเมื่อใกล้ร่วงหรือผลัดใบ มีก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร มีขน มักผลัดใบในช่วงฤดูหนาวในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน[1],[2]
ใบหูกวาง
  • ดอกหูกวาง ออกดอกเป็นช่อยาวแบบติดดอกสลับ โดยจะออกตามซอกใบ ลักษณะเป็นแท่งยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร มีดอกย่อยเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ดอกมีขนาดเล็กและไม่มีกลิ่นหอม (บางข้อมูลว่ามีกลิ่นฉุนด้วยเล็กน้อย) ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่ในช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้จะอยู่บริเวณปลายช่อ ส่วนดอกเพศเมียจะอยู่บริเวณโคนช่อ (อีกข้อมูลระบุว่าดอกแบบสมบูรณ์จะอยู่โคนช่อ) ไม่มีกลีบดอก มีแต่กลีบเลี้ยงดอก 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก มีขนด้านนอก ดอกเกสรเพศผู้มี 10 ชั้น ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 0.4-0.6 เซนติเมตร โดยดอกจะออกดอกสองครั้งรอบ 1 ปี คือ ในช่วงฤดูหนาวหลังจากแตกใบใหม่ (เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม) และอีกครั้งในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม)[1],[2]
ดอกหูกวาง
  • ผลหูกวาง ผลเป็นผลเดี่ยวในแต่ละผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรีค่อนข้างแบนเล็กน้อย ผลแข็ง มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร ผลด้านข้างเป็นแผ่นหรือเป็นสันบาง ๆ นูนออกรอบผล ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีเหลืองอมเขียว และมีกลิ่นหอม ผิวผลเรียบ ผลเมื่อแห้งจะเป็นสีดำคล้ำ เปลือกผลมีเส้นใย ภายในมีเมล็ดเดี่ยว เมล็ดมีขนาดใหญ่ เหนียว และเปลือกในแข็ง โดยผลจะแก่ในช่วงในช่วงแรกประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน และอีกช่วงหนึ่งประมาณพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน[1],[2],[3]
ผลหูกวาง
ลูกหูกวาง
  • เมล็ดหูกวาง ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่หรือรูปรี แบนป้อมเล็กน้อยคล้ายกับผล เมื่อเมล็ดแห้งจะเป็นสีน้ำตาล แข็ง ภายในมีเนื้อมาก[1],[2],[3]
เมล็ดหูกวาง

สรรพคุณของหูกวาง

  1. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ทั้งต้น)[1],[2]
  2. ใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ (ใบ)[1],[2]
  3. ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ (ใบ)[1],[2]
  4. ใบใช้ผสมกับน้ำมันจากเนื้อในเมล็ด นำมาทาหน้าอกจะช่วยแก้อาการเจ็บหน้าอก หรือใช้ทาไขข้อและส่วนของร่างกายที่หมดความรู้สึก (ใบและน้ำมันจากเมล็ด)[1],[2]
  5. เปลือกมีรสฝาด สรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย (เปลือก)[1],[2]
  6. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้บิด (ทั้งต้น)[1],[2]
  7. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ทั้งต้น)[1],[2]
  8. ผลมีสรรพคุณเป็นยาถ่าย (ผล)[1],[2]
  9. ใบที่มีสีแดงจะมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ)[1],[2]
  10. ใบใช้เป็นยารักษาโรคทางเดินอาหารและตับ (ใบ)[1],[2]
  1. บางข้อมูลระบุว่าเมล็ดใช้รับประทานเป็นยาแก้ขัดเบา แก้นิ่วได้ (เมล็ด)[6]
  2. เปลือกใช้เป็นยาแก้ตกขาวของสตรี (เปลือก)[1],[2]
  3. รากมีสรรพคุณช่วยทำให้ประจำเดือนของสตรีมาตามปกติ (ราก)[2]
  4. ช่วยรักษาโรคโกนีเรีย (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) (เปลือก)[1],[2]
  5. เปลือกและทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาสมาน (เปลือก,ทั้งต้น)[1],[2]
  6. ใบใช้ผสมกับน้ำมันจากเนื้อในเมล็ด เป็นยารักษาโรคเรื้อน (ใบและน้ำมันจากเมล็ด)[1],[2]
  7. ใช้แก้โรคคุดทะราด (ทั้งต้น)[1],[2]
  8. ใบมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ใบ)[1],[2]
  9. ช่วยขับน้ำนมของสตรี (ทั้งต้น)[1],[2]
  10. ส่วนบางข้อมูลระบุว่า ใบมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการผื่นคันตามผิวหนังและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และยังพบฤทธิ์ทางเภสัชว่า ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ แก้อาการปวด ลดอุณหภูมิภายในร่างกายหรือลดไข้ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว และทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว ควรนำมาใช้เป็นยาเฉพาะในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ (ข้อมูลจาก : เว็บไซต์โรงเรียนอุทัยวิทยาคม) ข้อมูลส่วนนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงนะครับ ผู้เขียนเองก็ไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

ประโยชน์ของหูกวาง

  1. เมล็ดหูกวางสามารถนำมารับประทานได้ และยังมีโปรตีนที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายของเราอีกด้วย[2]
  2. คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดหูกวาง ต่อ 100 กรัม ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายประกอบไปด้วย พลังงาน 594 แคลอรี, น้ำ 4%, โปรตีน 20.8 กรัม, ไขมัน 54 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 19.2 กรัม, ใยอาหาร 2.3 กรัม, วิตามินบี1 0.32 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.08 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 0.6 มิลลิกรัม, แคลเซียม 32 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 789 มิลลิกรัม, และธาตุเหล็ก 9.2 มิลลิกรัม เป็นต้น[5]
  3. เมล็ดสามารถนำเอาไปทำเป็นน้ำมันเพื่อนำไปใช้บริโภค (คล้ายน้ำมันอัลมอนด์) หรือทำเครื่องสำอางได้[2]
  4. เปลือกและผลมีสารฝาดมาก สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมย้อมสีผ้า ฟอกหนังสัตว์ และทำหมึกได้[2] ในอดีตมีการนำเอาเปลือกผลซึ่งมีสารแทนนินมาใช้ในการย้อมหวาย และได้มีการทดลองใช้ใบเพื่อย้อมสีเส้นไหม พบว่าสีที่ได้คือสีเหลือง สีเขียวขี้ม้า หรือสีน้ำตาลเขียว[4]
  5. ใบแก่นำมาแช่น้ำใช้รักษาบาดแผลของปลาสวยงาม อย่างเช่น ปลากัด ปลาหางนกยูงได้ อีกทั้งยังช่วยบำรุงสุขภาพปลาและสีสันของปลา ช่วยทำให้ตับของปลานั้นดีขึ้น จึงส่งผลให้ปลาแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้ปลาเป็นโรค (แต่ควรระมัดระวังเรื่องของยาฆ่าแมลงที่อาจพบได้ในใบหูกวาง) (รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ)
  6. เนื้อไม้หูกวาง สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้าง ทำบ้านเรือน หรือเครื่องเรือนได้ดี เพราะเป็นไม้ที่ไม่มีมอดและแมลงมารบกวน หรือนำมาใช้ทำฟืนและถ่านก็ได้[2]
  7. ในปัจจุบันต้นหูกวางเป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันมาก เพื่อเป็นไม้ประดับตามข้างทางหรือตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น สวนสาธารณะ สถานที่ราชการ ริมถนน สวนป่า หรือปลูกในที่โล่งต่าง ๆ เป็นต้น โดยเป็นต้นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย โตเร็ว ทนแล้ง ทนน้ำขังแฉะ แต่โดยมากจะนิยมปลูกเป็นไม้เพื่อให้ร่มเงามากกว่าเป็นไม้ประดับ เพราะมีกิ่งเป็นชั้น ๆ เรือนยอดหนาแน่น และหากต้องการให้ต้นหูกวางแผ่ร่มเงาออกไปกว้างขวาง ก็ต้องตัดยอดออกเมื่อได้เรือนยอดหรือกิ่งประมาณ 3-4 ชั้น ซึ่งจะทำให้เรือนยอดแตกกิ่งใบออกทางด้านข้าง[2],[3] (ไม่ควรนำมาปลูกใกล้บริเวณตัวอาคารบ้านเรือน เนื่องจากหูกวางเป็นไม้โตเร็ว รากจะดันตัวอาคารทำให้อาคารบ้านเรือนแตกร้าวเสียหายได้

อ้างอิง   https://medthai.com/%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87/